ฟังวิทยุออนไลน์ 24 ชั่วโมง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดพิธีลงนามสัญญา

     เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดพิธีลงนามสัญญาเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักร สำหรับยกขนตู้สินค้าในท่าเรือ (RTG) จากพลังงานดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ณ บริษัท แอล ซี เอ็ม ที จำกัด

     โดยมี นายทวีศักดิ์  อนรรฆพันธ์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์  ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข  ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ว่าที่ร้อยตรี รัฐกร เขียวไพศาล นักบริหาร 16 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง เข้าร่วมพิธีลงนามสัญญาดังกล่าว

     รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการขนส่งของประเทศไทย ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว โดยการสนับสนุนและให้ความสำคัญในการผลักดันให้ภาคเอกชน ที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมอันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นได้จาก  บริษัท แอล ซี เอ็ม ที จำกัด ผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับสัมปทานจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการประกอบธุรกิจท่าเทียบเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ที่ริเริ่มที่จะนำนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักรที่ให้บริการในท่าเรือให้มาใช้พลังงานสะอาด แทนที่พลังงานจากฟอสซิล เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่อากาศ

     ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ฐานะตัวแทนของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณกลุ่มบริษัท แอลซีบีวัน ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือบี  1 และท่าเทียบเรือเอ 0 ที่ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปีที่ผ่านมาได้ ร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการส่งมอบบริการด้านโลจิสติกส์ให้กับเรือขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศขนาดใหญ่ด้วยมาตรฐานท่าเทียบเรือระดับโลก ซึ่งทำให้สายเดินเรือระหว่าง ประเทศ มีความเชื่อมั่นและมั่นใจว่า ประเทศไทยจะได้ให้บริการขนส่งตู้สินค้าได้รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมาตรฐานสากล โดยความเชื่อมั่นดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นจากปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าที่เข้ามาใช้บริการ ท่าเทียบเรือบี  1 และเอ 0 สูงถึงกว่า 1.7 ล้านทีอียูต่อปี หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของ ปริมาณตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ทั้งหมดของประเทศ การจัดการสินค้าที่ดีทำให้เกิดเศรษฐกิจ หมุนเวียนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทำให้ฟันเฟืองของระบบโลจิสติกส์โลกหมุนไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย

แชร์ต่อให้เพื่อน
LATEST POSTS