ด้วยความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายของภาชนะโฟม (Polystyrene) ที่มีต่อสุขภาพ และก่อภาวะโลกร้อน จังหวัดภูเก็ตจึงกำหนดให้มีการบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ดำเนินการงดใช้โฟม 100%
นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศไทย นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เยาวชนในสังคมแล้ว ยังต้องรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยวทุกคนด้วย โดยคำนึงถึงภาชนะที่นำมาบรรจุอาหารให้ลูกค้าได้บริโภคต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสูง ดังนั้น จึงมอบหมายให้หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการร่วมกับภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วนทำการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU เพื่อให้ร่วมมือกันงดใช้โฟม 100% ในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษ ไทย จำกัด จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ให้ในราคาที่เหมาะสม หลังจากนั้นให้เวลาหน่วยงานต่างๆ ไปประชาสัมพันธ์ และปรับเปลี่ยน กำหนดความสำเร็จของโครงการภายในเดือนกรกฎาคม 2561 และมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ตรวจสอบให้เรียบร้อย
นายแพทย์ จิรพันธ์ เต้พันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไปเป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วย "สารสไตรีน" เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง สมองเสื่อม หงุดหงิดง่ายมีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นสารก่อมะเร็งอีก 3 ชนิด ถ้าเป็นผู้ชายรับประทานเข้าไปมากๆ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขณะที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น และอาจส่งผลให้ทั้งชายและหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงขึ้นด้วยแม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ตาม
สำหรับสไตรีนถือเป็นสารอันตรายที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็งหญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟมมีโอกาสทำให้ลูกสมองเสื่อมกลายเป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ ส่วนคนทั่วไป ถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า” อาหารตามสั่งหรือข้าวราดแกงกับไข่ดาวหรือไข่เจียวร้อนๆ อาจจะไปละลายผนังกล่องโฟมเสมือนรับประทานอาหารคลุกสไตรีนไปโดยไม่รู้ตัวแม้แต่ไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติกสารสไตรีนก็ยังมีโอกาสวิ่งเข้าไปในเปลือกไข่ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเลือกไข่ดิบก็ควรเลือกซื้อจากแผงไข่ที่เป็นกระดาษจะปลอดภัยที่สุด
เส้นทางมะเร็ง “สไตรีน” สู่ร่างกาย ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟมได้ง่ายถึง 5 ปัจจัย ได้แก่
1. อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลงทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
2. ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
3. ถ้าชื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
4. ถ้านำอาหารที่บรรจุในกล่องโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก
5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงร้านไหนที่ตัดถุงพลาสติกใสรองอาหารจะได้รับสารก่อมะเร็ง ถึง 2เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติก
จากคุณสมบัติของสารสไตรีนโดยปกติแล้ว จะมีสถานะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่นหอมเหนียวข้นเหมือนน้ำเชื่อม ระเหยง่ายและติดไฟง่าย และสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือทางการหายใจ ทางผิวหนังและทางเดินอาหาร พิษของสไตรีนจะทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต ทำให้ผิวหนังแห้ง แตก ความจำเสื่อม สมาธิสั้นมีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายโดยมีผลทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดีเนื่องจากลดการประสานงานของกล้ามเนื้อ มีผลต่อการเต้นของหัวใจและเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ นอกจากผลต่อสุขภาพแล้ว มีข้อมูลว่า โฟมเป็นวัสดุที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นพันปี ส่วนพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายประมาณ 450 ปี ถือเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการกำจัด ถ้าทำโดยการเผาก็จะไปเพิ่มปัญหาโลกร้อนมากขึ้น ถ้าฝังก็ใช้เวลาย่อยสลายนานมาก
สำหรับการลงนาม MOU ในครั้งนี้ ได้เชิญบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่นำมาเป็นภาชนะบรรจุอาหาร นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ ประธานกรรมการบริหาร และนายกิตชัย ทัศนวิญญู ผู้จัดการส่วน Food Packaging Business Development บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษ ไทย จำกัด และเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงได้แก่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพภูเก็ต สมาคมมัคคุเทศก์อันดามัน สมาคมท่องเที่ยวไทยจีนภูเก็ต สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ฯ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่มีช่องทางการใช้ภาชนะที่เป็นโฟ
เนื้อหาในการทำการบันทึกข้อตกลงเป็นความร่วมมือในการดำเนินการ ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิดแนวทางและความชัดเจนในการดำเนินงาน
โดยบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ทดแทนโฟมเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้ง 2 บริษัท ให้การสนับสนุนดำเนินงาน ลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร ในด้านการตลาด เรื่อง สินค้าราคาพิเศษ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินค้า และการประชาสัมพันธ์ ตลอดระยะเวลาของความร่วมมือการดำเนินงาน
จังหวัดภูเก็ต จะสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน “ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟม(Polystyrene) บรรจุอาหาร” ทั้งทางตรง และทางอ้อม ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดแย้งกับนโยบาย บทบาทภารกิจ และกฎระเบียบต่างๆของหน่วยงาน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้มีขอบเขตระยะเวลาความร่วมมือ เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ลงนาม
พร้อมกันนี้ได้มีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่องค์ปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% "ระดับทอง" องค์กรในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร...0-7621-1330 ต่อ 113 หรือเฟสบุ๊คแฟนเพจ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธาณรสุขจังหวัดภูเก็ต